วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

การฝึกใจไม่ให้โกรธ( 4 กันยายน 2558)

       ***การฝึกใจไม่ให้โกรธ***
เรียบเรียงโดยดร.เจตน์ คงด้วง
จากหนังสือวิธีฝึกใจไม่ให้โกรธ ของ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

***ความโกรธเป็นไฉน ?
- ความโกรธหรือโทษะทำให้เกิดความร้อนในจิตใจ เป็นความทุกข์ เป็นอารมณ์ไม่พึงปารถนา 
***จงมีสติ เมื่อเกิดความโกรธ***
แก้ปัญหาไม่ให้โกรธพระพุทธเจ้าทรงสอนให้แก้ที่เหตุ โดยใช้สติมากำกับดูแลความโกรธ ดูหน้าตาของความโกรธ การบริหารจิตไม่ให้โกรธ
***วิธีชะลอ ความโกรธ***
โดยการตั้งใจจริง ตั้งสติจะไม่ให้โกรธ โดยการใช้ปัญญาหาเหตุผลมาประกอบเพื่อไม่ให้เกิดความโกรธ และรู้จักการให้อภัย ให้ความเห็นใจเป็นการบริหารจิตอย่างหนึ่ง การบริหารจิตยิ่งๆขึ้น จะทำผู้บริหารจิต เป็นผู้มีจิตสวยงามขึ้นเรื่อยๆ
***วิธีฝึกตน ไม่ให้โกรธง่าย***
การรู้จักหาเหตุผลอุบายวิธี ไม่ให้เกิดขึ้นในจิตใจ มาทำให้ความโกรธขึ้นในจิตใจ โดยการให้อภัยกันอย่างเต็มอกเต็มใจ และเห็นอกเห็นใจกัน จะทำให้เกิดความสงบสุขปราศจากความร้อนของไฟโทษะแผดเผา
การบริหารจิตไม่ให้โกรธง่าย ควรฝึกตนให้เป็นผู้มีเหตุมีผล คิดหาเหตุผลเพื่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจผู้ทีตนโกรธ
การดับความโกรธ ทุกเช้าก่อนเริ่มชีวิตประจำวัน ควรกราบรูปพระพุทธรูปที่มีอยู่ แล้วสวดมนต์บทสั้นจบเดียว หรือ 3 จบ นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(ขอนอบน้อมแต่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น)
***เมตตา ระงับความโกรธ***
วิธีจะแก้ไขจิตใจให้มีความโกรธน้อยให้มีความโกรธยากจนถึงไม่มีความโกรธเลย จำเป็นต้องสร้างเมตตาให้เกิดขึ้นในจิตใจให้มากพอจะยอมเข้าใจในเหตุผลของบุคคลอื่นที่ทำผิดผลาดหรือบกพร่อง ขณะเดียวกันจำเป็นต้องฝึกใจให้มีเหตุผลหรือปัญญา เมื่อมีเหตุผลก็สามารถทำให้ความโกรธดับลง
- การหมั่นอบรม เหตุผลหรือปัญญา ประกอบด้วยเมตตาให้เกิดขึ้นเสมอในจิตใจ ความโกรธ หรือกิเลสต่างๆย่อมดับลง
- แม้กำลังโกรธมาก หากเพ่งดูใจตนเองให้เห็นว่ากำลังโกรธมาก ความโกรธจะลดลง
- การเพ่งดูใจตนเองในอารมณ์ที่เกิด โลภ หรือ โกรธ หรือหลง ให้เห็นอารมณ์นั้นแล้ว อารมณ์นั้นก็จะหมดไป ไดความสุขมาแทนที่ทำให้มีใจสบาย
- ทุกคนอยากสบาย แต่ไม่ทำเหตุที่จะให้เกิดผลเป็นความสบาย
- การทำเหตุใดต้องได้รับผลของเหตุนั้นเสมอไป เหตุดี ให้ผลดี เหตุชั่วให้ผลชั่ว เหตุแห่งความสุข ให้ผลเป็นความสุข เหตุแห่งความทุกข์ให้ผลเป็นความทุกข์ ต้องทำเหตุให้ตรงกับผล จึงจะได้ผลที่ปารถนาต้องการ ควรมีสติระลึกถึงความจริงนี้ไว้ให้สม่ำเสมอ
- ใจที่มีค่าคือใจที่สงบเยือกเย็น ใจที่ไม่มีค่าคือใจที่ร้อนรนกระวนกระวาย
- การขาดสติ จึงทำไม่ให้ค่อยรู้ตัว ต้องพยายามทำสติให้มีอยู่เสมอ จึงจะรู้ตัว
***วิเคราะหาสาเหตุความโกรธ***
สาเหตุอยู่ที่การปรุงใจ จะโลภก็เพราะใจปรุงให้โลภ จะโกรธเพาะใจปรุงให้โกรธ จะหลงเพราะใจปรุงให้หลง หรือจะสุขเพราะใจปรุงให้สุข จะทุกข์เพราะใจปรุงใหทุกข์ นั่นคือสิ่งที่ควรระมัดระวังที่สุดคือการปรุงใจตนเอง
- มิใช่การกระทำของคนอื่น คนอื่นจะทำอะไรอย่างไร ถ้าเราระวังการปรุงของใจเราเองให้ถูกต้องแล้ว ความทุกข์ของเราจะไม่เกิดเพราะการกระทำของเขาเลย
- การวิเคราะห์ ให้ย้อนหลังเรื่องนั้นที่ดับแล้วมาพิจารณา ก่อนจะเกิดความโกรธนั้นเริ่มต้นขึ้นอย่างไร เกิดเพราะความปรุงเช่นได เมื่อจะแก้ไม่ให้เกิดความโกรธ จะต้องไม่ปรุงคิดเช่นนั้น จะต้องเปลี่ยนวิธีปรุงคิดเสียใหม่
***รักษาจิต ให้คิดในทางที่ถูก***
เพื่อรักษาจิตใจมิให้ได้รับทุกข์ อันเกิดจากอารมณ์กิเลส จำเป็นต้องระวังการคิดปรุงหรือปรุงคิดให้ดำเนินไปอย่างถูกต้อง
- ทุกคนที่เป็นปถุชนย่อมมีเรื่องไม่ถูกใจตนอยู่ด้วยกันทั้งนั้น
***ฝึกจิตให้มีความสงบ***
การบริหารจิต คือการฝึกอบรมจิตให้มีความสงบ เยือกเย็นเป็นสุข และมีปัญญารู้ในสิ่งที่ควรรู้ เห็นในสิ่งที่ควรเห็น ตามหลักของพระพุทธศาสนา
- การบริหารจิตตามหลักของพระพุทธศาสนา จะทำให้กิเลสน้อยลง อารมณ์น้อยลง จิตใจสงบเยือกเย็น และมีปัญญาเจริญขึ้น เห็นถูก เห็นผิดในเรื่องทั้งหลาย
- กิเลส คือความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นโรคร้ายทางใจ ร้าย
กว่าโรคร้ายทางกาย ทางกายตายไปก็จบสิ้น แต่ทางใจทำให้คุณความดี ชื่อเสียง เกียรติยศ ที่จะอยู่กับผู้นั้นหลังจากตายจากทางกายไปแล้วอีกนานแสนนาน ดังนั้นโรคร้ายต่าๆที่เกิดขึ้นทางใจ หรือกาย ก็ตามต้องรักษาตามวถีทางที่เกิดโรคนั้นๆ
- สำคัญที่ความคิด
ความโกรธเกิดจากเหตุต่างๆกัน เกิดจากความไม่ถูกหู ไม่ถูกตา ไม่ถูกใจ
เช่น เสียงร้องเด็กเดียวกัน บางคนถูกหู บางคนไม่ถูกหู เกิดจากใจที่ปรุงคิดว่าดี ก็ปรุงว่าน่าชอบ ใจปรุงแต่งคิดว่าไม่ดี ใจก็ปรุงว่าไม่น่าชอบ ที่เป็นเหตุที่แท้จริงของความโกรธ หรือไม่โกรธ
เวลาเกิความไม่ชอบหรือความโกรธจึงควรมีสตรู้ว่าตนเองเป็นผู้ทำให้เกิด ไม่มีผู้อื่นมาทำ
- สติต้องรู้ว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเพราะความปรุงในจิตใจของเราเอง มิได้เกิดขึ้นเพราะบุคคล หรือวัตถุภายนอก
- เมื่อมีความโกรธเกิดขึ้นแล้ว ให้ดับด้วยการมีสติ รู้ความจริงว่าตนเองเป็นผู้ทำ ดังนั้นการป้องกันความโกรธ จะต้องฝึกให้เกิดเหตผล และปัญญา รวมทั้งเมตตากรุณา
- การเจริญด้วยเมตตาเป็นการแก้ความโกรธที่ได้ผล เพราะ เมตตากรุณา เป็นความรู้สึกตรงกันข้ามกับความโกรธ โดยเมตตาหมายถึงความปรารถนาให้เป็นสุข กรุณาหมายถึง ปรารถนาจะช่วยให้พ้นทุกข์
- การเจริญเมตตา การคิดดี พูดดี ทำดี
ผู้ที่จะได้รับผลแห่งความสุขก่อนใครทั้งหมด คือตัวผู้เจริญเมตตาเอง คิดดี พูดดี ทำดี ผู้ที่ได้รับผลของความดีคือคือผู้ทำเอง มีความสุขที่ได้ทำ ก็คือบุญหรือความสุขที่ได้รับ

                                    
         
                                  ...................จบ...............

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น